Translate

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

[Android] พัฒนาแอพจากแอพจริง Thai Pilot Pray (3)

ตอนที่แล้วเป็นการแนะนำ Android SDK ซึ่งมาอ่านดูก็รู้สึกว่าจะเขียนรวบรัดไปหน่อย แม้ว่าทุกท่านจะหาอ่านได้จากที่อื่นก็เถอะ แต่เราก็น่าจะเขียนให้เป็นแบบ Step by Step ดีกว่า เดี๋ยวจะเขียนแบบละเอียดอีกครั้งแล้วกันนะครับ ตอนนี้ถือก่อนว่าทุกท่านมี Icon Eclipse ของ Android SDK และสามารถเปิด และสร้าง Project กันได้แล้ว

ส่วนเรื่อง Emulator ของ Android ผมไม่ค่อยได้ใช้อ่ะครับ และก็ไม่แนะนำนะ ผมใช้ Device จริงในการทดสอบ เพราะมันเร็วกว่า แล้วก็ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากกว่า

เอาล่ะ! มาสร้าง Project Android กันเลยครับ


1. หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว กดที่ File > New > Android Application Project กันเลยครับ ซึ่งทุกท่านสามารถสร้าง project ใหม่ได้หลายแบบ ตามวงกลมที่แสดงไว้ในรูป คือ ที่ menu, toolbar, และ คลิกขวาที่ Package Explorer แล้วเลือกตามรูปด้านบน


2. เมื่อเลือกเสร็จ โปรแกรมจะแสดง Dialog ขึ้นมา ให้เรากรอกรายละเอียดของโปรแกรมใหม่ลงไปตามรู้ด้านล่างครับ


Application Name : ก็คือชื่อของ แอพของเรา ตามใจเลย
Project Name : ชื่อของ project ที่จะแสดงที่หน้าต่าง Package Explorer ด้านข้าง
Package Name : ชื่อ Package ของ แอพ 
( package แปลตรงตัวว่า หีบห่อ ในที่นี้เอาไว้ห่อหุ้มตัว Project เอาไว้ เพื่อแสดงถึงแหล่งที่มา และไม่ให้ไปซ้ำกับ Project อื่นๆ การตั้งชื่อ Package ตามรูปแบบที่นิยมกันส่วนหนึ่งจะเป็น {ลักษณะการใช้งานของแอพ}.{ผู้พัฒนา}.{Project ที่พัฒนา} เช่น com.pilotpol.thaipilotpray แต่จะตั้งเป็นแบบอื่นก็ได้นะครับ ซึ่งจุดที่คั่น ก็คิดเสียว่า เหมือนกับ folder ที่แยกรายละเอียดอื่นๆ ให้เป็นระเบียบนั่นเอง)

ถัดลงมาเป็น
Minimum Required SDK : ตัว API เวอร์ชั่น ของ android ที่จะให้รองรับได้น้อยที่สุด สำหรับผมไม่ทำแอพที่รองรับ 2.2 แล้ว เพราะฉะนั้นเริ่มจาก 2.3.3 เลย ตรงนี้ยิ่งเลือกให้รองรับน้อยเท่าไร เครื่องที่ใช้ได้ก็ยิ่งเยอะ แต่ความหลากหลาย และความสามารถใหม่ๆ บางอย่างที่มีใน API ใหม่ๆ บางอันเราก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน
Target SDK : เป้าหมายของเครื่องที่จะรันโปรแกรมเรา
Compile With: ตัว library ที่จะใช้ในการแปลรหัสโปรแกรม ผมเลือกตัวล่าสุดครับ ซึ่งก็จะรองรับ ความสามารถสำคัญๆ หลักๆ ของเวอร์ชั่นก่อนๆ ได้ แต่บางอันก็ถูกยกเลิกไปเหมือนกัน
Theme : รูปร่างหน้าตาของ control หลักๆ ในโปรแกรม อย่างพวกปุ่ม เส้น สี
ในขั้นต้นเลือกตามแบบผมแบบในรูปไปก่อนก็ได้ครับ จากนั้นกด Next เลย ครับ


3. Dialog นี้จะสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ 
Create custom launcher icon : เลือกเพื่อให้ android SDK สร้าง icon สำหรับแอพ โดยอัตโนมัติในทุกความละเอียด
Create activity : สร้าง activity ให้กับแอพ ใน android Activity คือ ตัวกิจกรรม เมื่อจะทำงาน ซึ่งเดี๋ยวผมจะอธิบายเรื่อง activity ละเอียดอีกครั้ง ตอนที่จะเริ่ม Code ครับ
Mark the project as a library : ทำโปรเจ็ค ให้เป็น library ไฟล์ ในที่นี่ไม่ต้องครับ
Create Project in Workspace : จะสร้างไฟล์โปรเจ็คใน workspace ของเราหรือไม่
Working sets : อันนี้ไม่เคยได้ใช้เลยอ่ะครับ คงจะเป็นการแบ่งกลุ่ม Project ที่ทำงาน เดี๋ยวจะหาข้อมูลอีกครั้งครับ
จากนั้นกด Next> เลยครับ

4. ถ้าหน้าเมื่อกี้ คลิกเลือกช่องแรก ว่าให้โปรแกรมสร้าง Icon ตามความละเอียดต่างๆ ให้ ก็จะขึ้นหน้าสร้าง Icon ครับ เมื่อเลือกรูปแบบ Icon ที่ถูกใจได้แล้ว ก็กด Next> ต่อครับ

5. หน้าต่อมาจะเป็นการสร้าง Activity ให้กับแอพ ในที่นี้เลือก Blank Activity ครับ เสร็จแล้วคลิก Next> 

6. ใส่ชื่อ Activity เริ่มแรกก็ใส่เป็น MainActivity ไปก่อนครับ ตรงนี้จะถูกนำไปสร้างเป็น Class ด้วยนะครับ สำหรับควบคุมการทำงานของ Activity นั้นๆ
อีกช่องถัดลงมาคือ layout Name : หน้า View สำหรับแสดงของ Activity นั้นๆ ครับ
Navigation Type เลือกเป็น none ครับ

แล้วก็คลิก Finish เลยครับ


7. ระบบจะสร้างโครงสร้างต่างๆ ขึ้นแบบอัตโนมัติใน folder ของ Project เรา ตรงนี้เดี๋ยวจะอธิบายอีกครั้งครับ ตอนทำหน้า View ของ แอพ

8. ระบบจะพามายังหน้า View แรกของแอพ แบบกราฟฟิก โดยเราสามารถกดที่ Tab ด้านล่างที่เป็นนามสกุล .xml เพื่อดูแบบ code xml ของหน้าวิวเราได้ครับ



9. จากนั้นก็ลองรันดูเลยครับ โดยที่หน้าต่าง Package Explorer ให้คลิกขวาที่ชื่อโปรเจ็ค แล้วเลื่อนลงมาเลือก Run as จากนั้นเลือกอันแรก ก็จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้เราเลือกว่าจะใช้อะไรรันแอพ ในที่นี้ของผมจะเลือก device ที่เชื่อมต่ออยู่ ก็แค่เสียบสายเชื่อมต่อกับเครื่องนะครับ อ๋อ ที่เครื่องก็ต้องตั้งค่าสำหรับ develop ไว้ด้วยนะครับ ตามนี้ครับ ที่ device 1. ตั้งค่า > ความปลอดภัย > ไม่ทราบแหล่งข้อมูล เพื่อติดตั้งแอพจากแหล่งอื่นได้ครับ 2. ตั้งค่า > ตัวเลือกสำหรับผู้พัฒนา > การดีบัก USB

เท่านี้แอพแอนดรอย์ก็ถูกสร้างแล้วครับ ง่ายมากๆ เลยใช่มั้ยครับ แต่ถ้าหากจะทำเป็น apk เพื่อติดตั้งผ่าน google play ก็ต้อง export ครับ ซึ่งนั่นเดี๋ยวจะบอกอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนอันนี้เป็นไฟล์ Source Code ของ Thai Pilot Pray ครับ

ดาวน์โหลด แล้วสร้าง Project แบบ existing ตามนี้ครับ
1. เลือก New > Project
2. ที่ Dialog ที่ขึ้นมา เลือก Android Project Existing Code แล้วกด Next
3. เลือก Folder ที่แตกไฟล์ของ Thai Pilot Pray ไว้ ด้วยการกด Browse... ที่ Root Directory จะเห็น project ที่สามารถสร้างขึ้นได้ ติ๊กถูกที่หน้า Project แล้วคลิก Finish ครับ
4. คลิกขวาที่ชื่อ Project แล้ว Run ดูครับ

เดี๋ยวบทความหน้า จะอธิบายแบบ Step by Step ตั้งแต่ Concept การเริ่มต้นทำ Project เลยครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น